นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ประชุมผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.วธ.) ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมีผู้บริหารสำนักงานวัฒธรรมจังหวัด (สวจ.) 76 จังหวัดเข้าร่วมประชุมผ่านการประชุมระบบทางไกล ซึ่งได้รับรายงานความคืบหน้าการรณรงค์แต่งกายผ้าไทย ผ้าท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดระยะแรกโดยเป็นที่น่ายินดีว่าขณะนี้มีกระแสตอบรับดีมาก โดยมีนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) รวมไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด วัฒนธรรมจังหวัดทั่วประเทศให้ความสำคัญและให้ความร่วมมือช่วยกันรณรงค์การสวมใส่ผ้าไทย ผ้าท้องถิ่น พร้อมกับสวมใส่เป็นแบบอย่างเพื่อจัดทำเป็นสื่ออินโฟกราฟิก (Infographic) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์และสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
ปลัด วธ. กล่าวต่อไปว่า ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้สวจ.จัดทำอินโฟกราฟิกรณรงค์การแต่งกายผ้าไทยในระยะที่ 2 โดยให้เพิ่มเติมข้อความรายละเอียด ชื่อและแหล่งที่มาของผ้าไทย เพื่อสื่อให้เห็นถึงคุณค่าและความเป็นอัตลักษณ์ของผ้าไทยในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งให้ประสานความร่วมมือหน่วยงานราชการภายในจังหวัดแต่งกายด้วยผ้าไทยอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจและเป็นตัวอย่างให้เห็นว่าผ้าไทยสามารถสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้จริง
นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้สวจ.สำรวจและรวบรวมลายผ้าไทยที่เป็นอัตลักษณ์สะท้อนถึงมรดกภูมิปัญญา วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์อันโดดเด่นของแต่ละจังหวัด เช่น ลายผ้าศิลาล้อมเพชร จากกำแพงเพชรที่ใช้เทคนิคการทอผ้าที่มีอัตลักษณ์สอดคล้องกับชาติพันธุ์ของ ชาวกำแพงเพชร และผ้าฝ้ายลายอุทัยสุพรรณิการ์ ถือเป็นลายผ้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเป็นลายผ้าลิขสิทธิ์ของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดด้านการผลิตและแปรรูปผ้าไทยให้ทันสมัย ถือเป็นการขับเคลื่อนนโยบาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของวธ. พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพ สร้างรายได้ทั้งระดับชุมชน จังหวัด และประเทศ ยกระดับผ้าไทยสู่ระดับสากล
อ้างอิงอ้างเนื้อหา และรูปภาพจาก
https://www.banmuang.co.th/news/education/233678
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ประกาศผ่านเฟซบุคให้นักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าสักการะพระพุทธชินราชแต่งกายให้เรียบร้อย เพราะขณะนี้ทางวัดงดบริการผ้าคลุมเนื่องจากสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 หากแต่งกายไม่สุภาพจะมิให้เข้าสักการะโดยเด็ดขาด
ประกาศวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก เรื่องการแต่งกายเข้ากราบนมัสการพระพุทธชินราช
ผู้ที่ต้องการเข้ากราบสักการะพระพุทธชินราชต้องแต่งกายให้เรียบร้อย
1. ให้ผู้ที่เข้ากราบนมัสการพระพุทธชินราชแต่งกายให้เรียบร้อย
2. ห้ามผู้ที่แต่งกาย ดังต่อไปนี้ (เข้าโดยเด็ดขาด)
สุภาพบุรุษ
1. ห้ามใส่กางเกงสั้นเหนือเข่า
2. ห้ามใส่กางเกงขาด และเสื้อขาด
3. ห้ามใส่เสื้อแขนสั้น (เสื้อกล้าม เสื้อแขนกุด)
สุภาพสตรี
1. ห้ามใส่กางเกงสั้น กระโปรงสั้น
2. ห้ามใส่กางเกงขาด และเสื้อขาด
3. ห้ามใส่เสื้อแขนสั้น (เสื้อแขนกุด เสื้อกล้าม เสื้อสายเดียว)
หากแต่งกายตามข้อห้ามดังกล่าว ทางวัดห้ามเข้าพระวิหารพระพุทธชินราชโดยเด็ดขาด เนื่องจากสถานการโรคโควิด-19 ระบาด ทางวัดไม่ได้จัดเตรียมผ้าสำหรับใส่คลุมไว้ (เพื่อไม่ให้มีการหมุนเวียนผ้าที่ใช้สำหรับเปลี่ยน) เป็นอีกหนึ่งมาตรการของทางวัด จึงกราบขออภัยในความไม่สะดวก
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
https://mgronline.com/travel/detail/9640000014908
หากเอ่ยถึง “รองเท้าแตะ” ใครหลายคนคงนึกถึงความชิลล์ สบายๆ สำหรับการแต่งกายในชีวิตประจำวันที่มีความเรียบง่าย ไม่ต้องการความเป็นทางการ แต่ถ้ามีคนมาถามสะกิดบอกคุณว่า รองเท้าแตะไม่สุภาพ ไม่เหมาะกับกาลเทศะ คุณก็คงมองด้วยความขุ่นเคืองกับผู้ที่มาสะกิดแบบนั้น ทั้งที่คุณมั่นใจแล้วว่าสถานที่แบบไหน ที่เหมาะสมกับการแต่งกายและสวมรองเท้าประเภทไหน
ในประเทศไทยเอง เมื่อเร็วๆนี้ยังมีเคยมีดราม่าในโลกโซเชี่ยล ที่มี “ยูทูปเบอร์คนหนึ่ง” อยากจะถีบหน้าคนที่ใส่รองเท้าแตะไปดินห้างฯ จริงๆ จนเกิดการโต้เถียงกันไปมา จนมีการตั้งคำถามว่า แล้วอะไรคือ “มาตรฐานของความไม่สุภาพ” หรือ “ไม่ถูกกาลเทศะ” จากการสวมรองเท้าแตะ?เพราะถ้าค้นหากฎหมาย หรือ พระราชบัญญัติ ซึ่งใช้บังคับให้ผู้คนในสังคมเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายร่วมกัน เพื่อความเรียบร้อยและเท่าเทียมกัน ก็ไม่มีกฎหมายฉบับใดเขียนเจาะจงไปถึงว่า ผู้คนในสังคมต้องสวมรองเท้าประเภทใดในสถานที่แบบไหน แต่เมื่อย้อนไปในอดีตเมื่อปี พ.ศ. 2482-2485 ช่วงที่ “จอมพล ป. พิบูลสงคราม” ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้พยายามกำหนดวินัยทางสังคมและสร้างความเป็นไทยที่เป็นแบบเดียวกันผ่านสิ่งที่เรียกว่า “รัฐนิยม” หลายฉบับ ถึงแม้ประกาศหลายๆ ฉบับอาจถูกลืมไปบ้างและไม่ได้ถูกเขียนไว้เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ แต่บรรทัดฐานของสังคมที่เกิดจากนโยบายชาตินิยมเหล่านั้นยังคงหลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้
มุมมองของการแต่งกายที่ถูกยอมรับว่า “สุภาพเรียบร้อย” ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจาก “รัฐนิยมฉบับที่ 10” ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2484 เช่น ต้องสวมเสื้อชั้นนอก ชายสวมกางเกงขายาว หญิงสวมกระโปรงหรือผ้าถุง และสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อ
ทั้งนี้ หากพิจารณาสิ่งที่เรียกว่า “กฎ” หรือ “ระเบียบ” หรือ “ข้อบังคับ” ที่ใช้บังคับในสังคมเฉพาะกลุ่ม อย่างเช่น “การแต่งกายในมหาวิทยาลัย” ซึ่งแต่ละสถาบันมีกฎระเบียบให้นักศึกษาแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย อาทิ กำหนดให้ใส่แต่รองเท้าผ้าใบสีพื้น หรือ รองเท้าคัทชู ที่ปิดส่วนเท้าและรัดส้น อย่างเคร่งครัด เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการสอบในบางหน่วยงานมีการออกกฎ ข้อบังคับในการแต่งกายให้เหมาะสม ซึ่งหนึ่งนั้นกำหนดห้ามสวมรองเท้าแตะ เข้าห้องสอบ แต่นั่นก็หมายถึงการห้ามสวมเสื้อยืด กางเกงยีนส์ กางเกงขาสั้น กระโปรงสั้นเหนือเข่าด้วยเช่นกัน
ทีนี้ไปดูมุมมองเหล่านี้จากคนรุ่นใหม่บ้าง กับรองเท้าแตะ หรือ รองเท้าแซนเดิลยี่ห้อ Birkenstock รองเท้าแตะสัญชาติเยอรมันที่มีราคาตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่น ที่มีผลวิจัยจาก คุณชัชวาล เกษมรุ่ง นักศึกษาวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ทำให้ทราบถึงปัจจัยในการตัดสินใจซื้อและสวมใส่รองเท้ายี่ห้อนี้ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ คือ
1. เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพเท้า
เพราะพื้นรองเท้าสามารถปรับสภาพให้เข้ากับเท้าของผู้สวมใส่ และ คุณสมบัติของรองเท้าที่มีสายคาด 1-2 สาย ปกปิดเท้าของผู้สวมใส่ คุณสมบัติเหล่านี้ก่อให้ประโยชน์ในแง่ความสบายในการสวมใส่และลดโอกาสที่เกิดอุบัติเหตุกับเท้าเช่นข้อเท้าพลิกหรือโรคตาปลา
ประโยชน์เหล่านี้สำคัญกับผู้ใช้ เพราะพวกเขาให้ความสำคัญกับคุณค่าบางอย่างเช่น “สุขภาพที่ดีคือความมั่งคั่ง”
2. เกี่ยวข้องกับความชีค (chic) ลุคที่สวยเท่ ดูดีแบบไม่ต้องพยายาม
สีรองเท้ายี่ห้อนี้มีความเรียบง่าย สื่อถึงความมินิมอลในความรู้สึกของผู้ใช้ คุณสมบัติอันนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในแง่การใช้งานที่หลากหลาย กลายเป็นรองเท้าอเนกประสงค์ที่ใส่ได้ในหลากหลายโอกาส ผู้ใช้สามารถแต่งตัวลุคธรรมดา ๆ สวมใส่รองเท้าและออกจากบ้านได้เลย โดยไม่ต้องกังวลว่าเสื้อผ้าและรองเท้า จะแมทช์กันหรือไม่ ความอเนกประสงค์นี้สำคัญกับผู้ใช้เพราะทำให้ชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายขึ้นปราศจากความกังวลในการใช้ชีวิต เป็นเหตุผลว่าทำไมรองเท้าคู่ละหลายพันบาทนั้นจึงคุ้มค่าในสายตาของผู้ใช้
3. เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสุภาพ
Birkenstock ถูกมองว่าเป็นรองเท้าที่มีความสุภาพระดับหนึ่ง เพราะมันไม่ได้ถูกเทียบเคียงกับรองเท้าผ้าใบที่หุ้มส่วนเท้าทั้งหมด แต่ถูกเทียบกับรองเท้าแตะหูหนีบทั้งหลายในตลาด กล่าวคือ คุณสมบัติที่มีสายคาดปกปิดส่วนเท้ามากกว่ารองเท้าแตะทั่วไปเป็น ‘เครื่องมือ’ ที่ทำให้กายแต่งกายของพวกเขาดูสุภาพมากขึ้น ภาพลักษณ์ที่สุภาพมากขึ้นนั้นสำคัญกับพวกเขา เพราะพวกเขาไม่อยากจะถูกมองว่าไม่มีกาลเทศะ และอาจโดนผู้อื่นติเตียนว่าไม่มีมารยาทในสังคม
ดังนั้น Birkenstock อาจจะถูกนับได้ว่า เป็นเครื่องหมายและคำนิยามของคำการแต่งกายแบบสุภาพในมุมมองของคนของรุ่นใหม่ก็เป็นได้
มีมุมมองทางการตลาดที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้
“เซธ โกดิน” หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด ได้อุปมาถึงตัวอย่างทางด้านการตลาดในหนังสือ This is Marketing ที่ใกล้เคียงกับทฤษฎี Means-End Approach เขากล่าวว่า ลูกค้าไม่ได้อยากจะซื้อหัวเจาะสว่าน ลูกค้าต้องการรูเอาไว้แขวนชั้นวางของต่างหาก และความสำคัญของการแขวนชั้นนั้น อาจจะเป็นการการชื่นชมยอมรับจากบุคคลรอบข้างว่า เขานั้นสามารถทำงานช่าง เช่นแขวนชั้นได้ด้วยตัวเอง
ดังนั้นหัวเจาะสว่านเป็นเพียงเครื่องมือที่นำไปสู่สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการอย่างแท้จริง นั่นคือรูที่ใช้แขวนชั้น และการยอมรับจากบุคคลรอบข้าง ทฤษฎีข้างต้น อาจนำมาประยุกต์ใช้กับการเลือกซื้อเสื้อผ้า-เครื่องแต่งกายได้
สรุปแล้ว ไม่มีข้อสรุปกับคำว่า “มาตรฐานความสุภาพ” ไม่ได้มีหลักการ-เหตุผลที่ตายตัว” แต่เป็นเรื่องของดุลยพินิจ วิจารณญาณส่วนตัว ที่มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ ขีดเขียนไว้ให้ปฏิบัติตามในหน่วยงาน สังคมเฉพาะกลุ่มที่ กำหนดให้ผู้คนต้องเคารพกฎนี้ร่วมกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก
รศ. ดร. วินัย วงศ์สุรวัฒน์ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
คุณชัชวาล เกษมรุ่ง นักศึกษา วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ้างอิงเนื้อหา และรูปภาพจาก
https://www.thansettakij.com/pr-news/lifestyle/484899
04.